วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 นวัตกรรมการเรียนการสอน


นวัตกรรมการเรียนการสอน

                   ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ   และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู อาจารย์   จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู  อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ  นั้น  คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเอง

นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้
        ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่     - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)  
 มัลติมีเดีย (Multimedia) - การประชุมทางไกล (Teleconference) - ชุดการสอน (Instructional Module) -วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Video)  และดิฉันก็เชื่อว่าสถานที่การศึกษาหลายๆ  ที่นั้นได้นำนวัตกรรมที่ว่านี้มาใช้กันแล้ว  อย่างเช่นที่โดรงเรียนที่ดิฉันสอนอยู่ก็ได้นำ   มัลติมีเดีย (Multimedia)  มาใช้ในการสอนบางวิชา ซึ่งทำให้เด็กสนใจในการเรียนมากขึ้นและสนุกสนานกับการเรียน  ทำให้เขาได้เรียนรู้มีความสุขโยไม่ต้องบังคับและจ้ำจี้จ้ำชัยเหมือนเดิมค่ะ

นวัตกรรมการเรียนการสอน
       เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบ แก้ปัญหาการพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่าง นวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่
 
- การสอนแบบโมดุล (Module Teaching)
 
- การสอนแบบจุลภาค (Micro Teaching)
 
- การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์(Group Process Teaching)
 
- การสอนซ่อมเสริม (Remidial Teaching)
- การสอนโดยเพื่อน สอนเพื่อน (Peers Teaching)
 
- การสอนแบบพี่สอนน้อง (Monitoring) และการปรับพฤติกรรม (Behavioral Modification)
- การสอนเป็นรายบุคคล(Individualized Instruction)
- การเรียนแบบรู้รอบ(Mastery Learning)
 
- การเรียนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การสอนแบบบูรณาการ(Integrative Techniques)
 
- การสอน แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)
 
- การสอนแบบโครงการ อาร์ ไอ ที(Reduced Instructional Time)
 
- การสอนโดยใช้ชุดการเรียนการสอน (Instructional Package)
 
- การสร้างบทเรียนให้เรียนด้วยตนเอง (Personalized System Instruction)
 
- การสอนโดยให้ทางบ้านดูแลการฝึกปฏิบัติ (Home Training)
 
- ชุดการสอนย่อย (Minicourse)
 
- การเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
 
- การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ

นวัตกรรมการเรียนการสอน  หมายถึง การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ  นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วยทอมัส ฮิวช (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)   มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpanedt01.htm)  ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น            จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ
ศึกษา” ความหมายของนวัตกรรม          นวัตกรรม”  หมายถึงความคิด
วิเคราะห์และสังเคราะห์ความหมายของ “นวัตกรรมทางการศึกษา” 
นวัตกรรมเป็นการเรียนการสอน โดยทั่วไปมักเกี่ยวของในเรื่องของการแก้ปัญหาปรับปรุงการเรียนการสอนของครู ดังนั้นจุดเริ่มต้นของกระบวนการพัฒนานวัตกรรม จึงอยู่ที่การศึกษาสภาพปัญหา การคิดค้นหรืออกแบบนวัตกรรมให้สอดคล้องกับปัญหา การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมให้สมบูรณ์ตามแนวหรือกรอบของแบบนวัตกรรมที่กำหนด การทดลองวิจัยและพัฒนาเพื่อให้นวัตกรรมมีประสิทธิภาพสูงสุดการเผยแพร่ไปสู่ประชากรเป้าหมายเพื่อให้เกิดการยอมรับและนำไปปฏิบัติอย่างแพร่หลายและกว้างขวางนวัตกรรมจะมีความเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการเรียนการสอนหรือปรับปรุงเพื่อให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นความหมาย  “นวัตกรรมทางการศึกษาการนำความรู้ใหม่ๆมาประยุกต์ใช้ให้ดีกว่าของเก่าไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเรียนการสอนหรือการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพหรือศักยภาพในการพัฒนามากยิ่งขึ้นช่วยใหเกิดผลดีไปสู่จุดหมายทีได้กำหนดไว้
เหตุผลที่ใหความหมายดังกล่าวเพราะนวัตกรรมทางการศึกษาเป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทนในวงการศึกษาปัจจุบัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน อยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม

นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ 
หมายถึง คำว่า "นวัตกรรม" หรือ นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Innovation" โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว+อตต+กรรม กล่าวคือ นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต มาสมาส กับ กรรม จึงเป็นคำว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ การกระทำของตนเองที่ใหม่ (เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต, 2528) 
ส่วนคำว่า "นวกรรม" ที่มีใช้กันมาแต่เดิม มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า นว แปลว่า ใหม่ กรรม แปลว่า การกระทำ จึงแปลตามรูปศัพท์เดิมว่าเป็นการปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ๆ
 
ในความหมายโดยทั่วไปแล้วสิ่งใหม่ๆ อาจหมายถึงความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน คำว่านวัตกรรมนี้อาจมีผู้ใช้คำอื่นๆ อีก เช่น นวัตกรรม ความจริงแล้วก็เป็นคำ ๆ เดียวกันนั่นเอง
นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้  หมายถึง
1   สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย 
2   สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
 
3   สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

นวัตกรรมสื่อการเรียนการสอน

การนำ e-learning ไปใช้ประกอบกับการเรียนการสอน สามารถทำได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
1. สื่อเสริม (Supplementary)
         หมายถึง การนำ e-learning ไปใช้ในลักษณะสื่อเสริม กล่าวคือ นอกจากเนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะ e-learningแล้ว ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันในนี้ในลักษณะอื่นๆเช่น จากเอกสารประกอบการสอน (Sheet) จากวีดิทัศน์ (Videotape) ฯลฯ การใช้ e-learning ในลักษณะนี้ เท่ากับว่า ผู้สอนเพียงต้องการจัดหาทางเลือกใหม่อีกทางหนึ่งสำหรับผู้เรียนในการเข้าถึงเนื้อหาเพื่อให้ประสบการณ์พิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้เรียนเท่านั้น
                                                                                                                      
2. สื่อเติม (Complementary)
         หมายถึง การนำ e-learning ไปใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากวิธีการสอนในลักษณะอื่นๆ เช่น นอกจากการบรรยายในห้องเรียนแล้ว ผู้สอนยังออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมจาก e-learning ในประเทศไทย หากสถาบันใดต้องการที่จะลงทุนในการนำ e-learning ไปใช้ในการเรียนการสอนตามปกติ (ที่ไม่ใช่ทางไกล) แล้วอย่างน้อยควรตั้งวัตถุประสงค์ ในลักษณะของสื่อเติม(Complementary) มากกว่า แค่เป็นสื่อเสริม (Supplementary) เช่น ผู้สอนจะต้องให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจาก e-learning เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียนในประเทศไทย ซึ่งยังต้องการคำแนะนำจากครูผู้สอน รวมทั้งการที่ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดการปลูกฝังให้มีความใฝ่รู้โดยธรรมชาติ
 3. สื่อหลัก (Comprehensive Replacement)
        หมายถึง การนำ e-learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมด ออนไลน์ ในปัจจุบัน e-learning ส่วนใหญ่ในต่างประเทศจะได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นสื่อหลักสำหรับแทนครูในการสอนทางไกล ด้วยแนวคิดที่ว่า มัลติมีเดียที่นำเสนอทาง e-learning สามารถช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาได้ใกล้เคียงกับการสอนจริงของครูผู้สอน